การจัดการขยะอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อมด้วยหนอนแมลงทหารดำ การจัดการขยะอาหารแบบนำมาใช้ใหม่
โครงพัฒนาเขตนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาเขตปทุมวัน เขตพญาไท และเขตหนองแขม ความร่วมมือระหว่างการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนต้องก้าว บริษัทเจเนซิล จำกัด และบริษัทดาวเคมิคอล เปิดศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ด้วยหนอนแมลงทหารดำ (BSF) โดยมี ดร.ชาติวุฒิ กังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ กล่าวเปิดงาน คุณสิริ จันทะประแดง ผู้บริหารสวนต้องก้าว คุณสาริณี เสถียรภัคกุล ผู้บริหารบริษัทเจเนซิส จำกัด บรรยายการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยหนอนแมลงทหารดำ (BSF) รศ.ดร.ปัญญา มินยง ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ธัญบุรี และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ แนะนำระบบและกระบวนการทำงานของโรงเรือน BSF ต้นแบบ ณ ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม เขตหนองแขม
คุณสาริณี เสถียรภัคกุล ผู้บริหารบริษัทเจเนซิส จำกัด เผยว่า สำหรับกระบวนการการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อมด้วยหนอนแมลงทหารดำและผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โครงการการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยหนอนแมลงทหารดำ (Black Soldier Fly;BSF) การจัดการขยะอาหารแบบนำมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นโปรตีนทางเลือก หรือเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ย ลดการจำกัดด้วยการนำไปเผา หรือฝังกลบ ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าวิธีนำไปทำปุ๋ยหมักถึง 47 เท่า กำลังการย่อยสลายของขยะมูลฝอย โดยไข่หนอนทหารดำ 1 กิโลกรัม ออกมาเป็นตัวหนอนที่สามารถกำจัดขยะได้ 13 ตัน ทำหน้าที่ผู้ย่อยสลายตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ วงจรชีวิต และกระบวนการการกำจัดขยะ แมลงชนิดนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในธรรมชาติสามารถพบได้ทั่วไปในเขตอบอุ่นบริเวณละติดจูดที่ 40”S ถึง 45”N จะพบบินวนเวียนบริเวณพุ่มไม้ แมลงทหารดำจะกินเฉพาะน้ำและน้ำหวานเพื่อการดำรงชีวิตสั้น ๆ 7 – 12 วันเท่านั้นก่อนจะผสมพันธุ์ หาที่วางไข่และตายลง ดังนั้นจึงไม่เหมือนแมลงวันบ้านที่บินวนตอมอาหารตามบ้านเรือน และไม่มีผิดกัดต่อยเช่นต่อ แตน หรือผึ้ง จึงมีความปลอดภัย ไม่รบกวนการดำรงชีวิตของมนุษย์
โดย รศ.ดร.ปัญญา มินยง ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ธัญบุรี และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ ผู้ออกแบบโรงเรือนชุดกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อมใช้ย่อยสลายกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยหนอนแมลงทหารดำ เผยว่า โจทย์คือการใกล้แหล่งชุมชน ต้องคำนึงในส่วนของกลิ่นที่รบกวนชาวบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ ศูนย์ หลักในการออกแบบจึงให้ความสำคัญในเรื่องของกลิ่น การควบคุมอุณหภูมิเพื่อกักกลิ่น จึงได้ออกแบบผนังโดยใช้แผ่นไอโซวอลล์ ความหนา 3 นิ้ว ในการสร้างโรงเรือน สำหรับโรงเรือนแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 โซน 1. โซนรับขยะอาหาร และไม่บดอาหาร 2. โซนอนุบาลหนอน 3. โซนเพาะพันธุ์ 4. โซนโรงบิน สำหรับตัวแมลงวางไข่ 5. โซนเลี้ยงหนอน 6. โซนโรงปุ๋ย ซึ่งได้จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คุณสิริ จันทะประแดง ผู้บริหารสวนต้องก้าว เพิ่มเติมว่า สำหรับกระบวนการในการกำจัดขยะ เริ่มจากรับขยะอาหาร และโม่บดอาหาร เพื่อให้หนอนกำจัดขยะอาหารให้ได้มากที่สุดและทำให้ขยะอาหารใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยที่สุด 2. ใช้ขยะอาหารเพาะหนอนออกจากไข่เป็นหนอนอนุบาลใช้เวลา 5 วัน (ไข่ 1 กก.เลี้ยงจนเสร็จสิ้นกระบวนการสามารถจัดการขยะได้ 1.3 ตัน) 3. หลังที่ตัวหนอนฟักออกจากไข่เลี้ยงต่อไปอีก 5 วัน เพื่อให้เป็นหนอนโตเต็มวัย 4. เมื่อหนอนได้ 10 วันสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้ ตัวหนอนที่โตเต็มวัย มีโปรตีนสูง ไขมัน โอเมก้า เส้นใยอาหาร แคลเซียม และ กรดลอริคสูง เหมาะที่นำมาเป็นอาหารไก่ ปลา นก และสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ อีกมากมาย 5. คัดแยกหนอนออกมาประมาณ 10 % เพื่อนำไปเลี้ยงต่ออีก 15 วัน กลายเป็นดักแด้ขยายพันธุ์ต่อไป 6. มูลหนอนที่ได้นำไปเป็นปุ๋ย ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าวิธีทำปุ๋ยหมักถึง 47 เท่า 7. เมื่อเลี้ยงดักแด้ต่ออีก 10 วัน กลายเป็นแมลงหาคู่และวางไข่เพื่อขยายพันธุ์เข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะขั้นตอนที่ 2 ต่อไป
กระบวนการในการกำจัดขยะดังกล่าวหลายประเทศทั่วโลกนำหนอนทหารดำมาช่วยในการกำจัดขยะอาหาร เช่น เมือง DECATUR-MACON COUNTY มลรัฐอิลินอยด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทาง สสส.จึงให้การสนับสนุนทุนเพื่อขยายผลโครงการไปยังพื้นที่หัวเมืองตามจังหวัดต่าง ๆ อาทิ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรีต่อไป
…
ชลธิชา ศรีอุบล กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี รายงาน