การเรียนด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่ได้เรียนเฉพาะการออกแบบ การสร้างสรรค์โครงสร้างสถาปัตยกรรม นักศึกษาต้องเรียนรู้ เข้าใจ ในเรื่องการสร้างแบบโครงสร้างต่าง ๆ ที่อาจรวมถึงการใช้วัสดุ เทคนิคการก่อสร้าง การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ รวมถึงการศึกษาประวัติและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมซึ่งอาจเป็นการนำแรงบันดาลใจส่งผลต่อการออกแบบในยุคปัจจุบันของนักศึกษาสถาปัตย์ฯ
อาจารย์วิทูล ทิพยเนตร คณบดีสถาบัน Gen.Ed. และ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า “ปีการศึกษา 2566 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสถาบัน Gen.Ed. มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มีความร่วมมือกับ บริษัท กาญวริญเอสเตท จำกัด เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันในการพัฒนานักศึกษาสู่สายอาชีพการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งอนาคต โดยได้มีการนำพื้นที่จริงของโครงการภายใต้การดูแลของบริษัทมาเป็นโจทย์ในการออกแบบและพัฒนาพื้นที่ให้แก่นักศึกษา โดยนักศึกษา ทีมอาจารย์ เจ้าของที่ดิน และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้จากประสบการณ์ภายนอกห้องเรียน (Learning from Real-World Experiences) ให้นักเรียนไปสัมผัสประสบการณ์ในโลกภายนอกห้องเรียน อาทิ การลงพื้นที่เพื่อการออกแบบและพัฒนา การศึกษาบริบทและองค์ประกอบของพื้นที่ เพื่อนำมาปรึกษาหารือร่วมกัน และแก้ปัญหา วิเคราะห์ ประกอบกับทฤษฎีแนวคิดต่าง ๆ ที่ได้จากในห้องเรียน มาสนับสนุนพัฒนาสร้างผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยพัฒนาพื้นที่เชิงอสังหาริมทรัพย์ในมิติที่สร้างสรรค์แก่สังคม ด้วยเนื้อหาการเรียนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.รังสิต เน้นการเรียนผ่านประสบการณ์ โดยประสบการณ์ที่หมายถึงในด้านกระบวนการที่นักศึกษาได้รับความรู้และเข้าใจต่าง ๆ จากประสบการณ์จาการปฏิบัติ การนำเสนอ หรือการมีประสบการณ์ที่ได้รับจากชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงผ่านวิธีที่การเรียนผ่านประสบการณ์ที่สามารถทำได้จริงด้วย ตัวอย่างการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตกรรมศาสตร์ ที่มีการวางแผนกำหนดเป้าหมายการเรียนร่วมกันระหว่างทีมอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเพื่อหลังจากการเรียนจบในช่วงชั้นดังกล่าวนั้น นักศึกษาและทีมอาจารย์มีประสบการณ์การณ์ในการทำงานร่วมกัน โดยประสบการณ์จากการเรียนที่แชร์ร่วมกัน”
จากตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่โปรเจ็กอาศัย งานออกแบบคอมมูนิตี้ มอลล์ ทาวน์โฮม ที่มีแรงบัดาลใจจาก Installation Arts การรวมตัวกันในหลายองค์ประกอบให้เกิดงานออกแบบที่เรียบง่าย ของนายธนาธิป พานันต์ และโปรเจ็กออกแบบหมู่บ้านที่มีราคาจับต้องได้ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการเชื่อมโยงจากผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบ และนางสาวณิรินทร์ ชัยนิติรัศมิ์ ซึ่งผลงานการออกแบบดังกล่างของนักศึกษาได้รับคัดเลือกจากทาง บริษัท กาญวริญเอสเตท จำกัด นำไปพัฒนางานต่อยอดเพื่อการนำไปประยุกต์เขากับทีม
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จริงต่อไป ประสบการณ์ความรู้ที่นักกเรียนทุกคนได้รับจากการทำงานจริงตั้งแต่วันแรกจนปิดคลาส นั่นคือ การเรียนรู้จากการทำ (Learning by Doing) นักศึกษาและทีมอาจารย์ได้ทดลองออกแบบจากโจทย์งานออกแบบร่วมกันนักศึกษาได้รับประสบการณ์และความเข้าใจที่สมบูรณ์มากกว่าการศึกษาทฤษฎีและสามารถพัฒนาทักษะให้เกิดความชำนาญในการทำงานจริง การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Learning from Problem Solving) เมื่อได้มีการทดลองทำจะพบปัญหาและอุปสรรคในสถานการณ์จริง นักศึกษาและทีมอาจารย์ช่วยกันคิดวิเคราะห์ วางแผน และดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Learning through Collaboration) นักศึกษาได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย การทำงานเป็นทีมที่ช่วยในการพัฒนาทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแก้ปัญหาร่วมกัน การเรียนรู้จากการทดลอง (Learning through Experimentation) นักศึกษาได้ทดลองลงมือออกแบบจริงซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทดลองออกแบบต่าง ๆ เพื่อทดสอบทฤษฎี ค้นพบ และพัฒนาความเข้าใจในงานออกแบบของตนเอง
#สำนักข่าวการศึกษาไทย