“ไม่มีวันไหน ไม่ทำวิจัย กว่าจะสมบูรณ์แบบออกมาเป็นงานวิจัย ในหัวข้อ การพัฒนารูปแบบที่พักนักท่องเที่ยวเต็นท์กระโจมอัตลักษณ์ใหม่ ในบริบทการท่องเที่ยวมรดกโลกของประเทศไทย THE MODEL DEVELOPMENT OF A NEW IDENTITY OF GLAMPING WITHIN THE CONTEXT OF WORLD HERITAGE TOURISM IN THAILAND ต้องขอขอบคุณ ท่าน ศ.ดร.คณิต เขียววิชัย, ท่าน ดร.วิชิต อิ่มอารมย์, คณาจารย์ทุกท่าน ที่ทำให้กุลแก้วมีวันนี้ อยากบอกว่า เรียน ป.เอก เครียดมาก แต่อาจารย์ทุกท่านสามารถทำให้เรา เข้าใจและรู้สึกผ่อนคลายกับการเรียนปริญญาเอกได้เป็นอย่างดี จึงอยากจะขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, อปท.สุโขทัย, อบต.สุโขทัย ฯลฯ ส่วนตัววางแผนว่าอยากทำ รองศาสตรจารย์ อีกสองปี ต่อไปหวังว่าจะนำองค์ความรู้มาช่วยพัฒนาประเทศชาติ ทั้ง Soft Power และการประชาสัมพันธ์มรดกโลกของเมืองไทย ให้ชาวโลกได้รับรู้มากยิ่งขึ้นค่ะ” ผศ.กุลแก้ว คล้ายแก้ว ดุษฎีบัณฑิตคนแรกของสาขาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา ม.ศิลปากร
ระยะทางไปกลับ พิษณุโลก – นครปฐม 892 กม. กับวันเวลารวม 3 ปีเต็ม ที่เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า นักศึกษาปริญญาเอก หญิงแกร่งคนหนึ่งชาวพิษณุโลก ได้ฝ่าฟันและก้าวขึ้นหยิบดวงดาวได้เป็นคนแรก สังกัดสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เธอทำสำเร็จแล้ว ด้วยสิ่งที่อยากจะถ่ายทอดบอกทุกท่านว่า
“อาจารย์ที่ปรึกษา ของศิลปากรทุกท่านมีความเมตตาสูงมาก อาจารย์หลักสูตร ไม่มีความกดดัน ทำให้เราเรียนอย่างมีความสุข จากเดิมที่ก้าวเข้ามาเรียนครั้งแรกเครียด และต้องอ่านหนังสือหนักมาก กับตัวเอง มองว่า อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรน่ารักมาก ท่านเมตตา ให้ความรู้ พูดระเบียบวิธีวิจัยเพียงประโยคเดียว เราต้องกลับมาทำการบ้าน ต้องศึกษา และหาความรู้ไปคุยกับท่าน จึงได้รับความรู้มาปรับใช้กับชีวิตจริง ทั้งที่ตัวเองสอนที่พิบูลสงคราม และการเรียน ที่ศิลปากรด้วย” ผศ.กุลแก้ว คล้ายแก้ว กล่าวเปิดเผย
ศ.ดร.คณิต เขียววิชัย ผู้ก่อตั้งและอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอก สาขาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึง อ.กุลแก้ว นักศึกษาคนแรกที่จบในปีนี้ว่า “อ.กุลแก้ว เป็นนักศึกษาที่ใส่ใจในรายละเอียดมาก และเป็นคนที่มีความคิดเฉียบคม สามารถต่อยอดในสิ่งที่ครูผู้สอนถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี และหัวข้อวิจัยก็เป็นนวัตกรรมที่พวกเราภูมิใจ จะเป็น soft power ได้เป็นอย่างดีสำหรับมรดกโลก จึงอยากจะแสดงความยินดีอย่างจริงใจกับผู้ที่จบการศึกษา ป.เอก คนแรกด้วย ซึ่งที่จริงมีผู้ที่จบอีกท่าน แต่รับปีนี้ไม่ทัน”
นอกจากนั้นท่าน ศ.ดร.คณิต ยังฝากสำหรับนักศึกษา ป.เอก ที่กำลังเรียนอยู่อยากจะแนะนำว่าสิ่งที่อยากรู้ อาจารย์ จะพยายามข่วยเขา ค้ำยัน เป็เนสิ่งที่เขาอยากรู้ ครูผู้สอน โดยเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษาเพียงมาตกแต่ง ให้มีองค์ความรู้ใหม่ หลายท่านเป็นกังวล อยากจะบอกว่าการเรียน ป.เอก เราจะไม่ทำให้นักศึกษาเครียดหรือกังวล และไม่ให้ทำงานวิจัยตามที่อาจารย์ต้องการ แต่เอาหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ และเอามาตบแต่ง เขาจะค้นหาคำตอบของเขาได้ทันที
และสำหรับผู้ที่อยากมาเรียน ป.เอก กับทางสาขาฯ ต้องบอกว่า นักศึกษา ป.เอก ทุกคน จะได้รับการดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างดี เมื่อผ่านหัวข้อ 3 บทแล้ว จะเอาความรู้ของเขา ใช้โครงสร้างเดิม กระบวนการเดิม แต่เน้นที่จะเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงอะไร จะมีการคุยทั้งอาจารย์และนักศึษา จะไปด้วยกัน และเราจะดูและให้เขาจบตามกำหนดได้ เหมือนกับ ผศ.กุลแก้ว คล้ายแก้ว” ศ.ดร.คณิต เขียววิชัย ผู้ก่อตั้งและอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการจัด การนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเปิดเผย
ทางด้าน ดร.วิชิต อิ่มอารมย์ ประธานหลักสูตรปริญญาเอก สาขาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวถึง ผศ.กุลแก้ว ว่า “ตนมองนักศึกษาคนนี้มาตั้งแต่แรกและยอมรับในความตั้งใจจริงของ อ.กุลแก้ว เป็นผู้ที่เก็บรายละเอียดและหมั่นเข้ามาปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาตลอด ถือว่าเขาผ่านการเรียนปริญญาเอกได้สมภาคภูมิ จึงขอร่วมแสดงความยินดี และจะเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ให้ทำงานและเรียนจบเหมือนที่ ผศ.กุลแก้ว ทำมาแล้วได้เป็นอย่างดีครับ”
งานวิจัยของ ผศ.กุลแก้ว คล้ายแก้ว หัวข้อ “การพัฒนารูปแบบที่พักนักท่องเที่ยวเต็นท์กระโจมอัตลักษณ์ใหม่ ในบริบทการท่องเที่ยวมรดกโลกของประเทศไทย” http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4381
บทพิสูจน์ได้ถูกเปิดออกเป็นตำนานหน้าแรกแล้ว สำหรับ นักศึกษา ป.เอก คนที่ 1 ที่จบการศึกษาได้ภายในระยะเวลา 3 ปี และเราก็จะมีผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาตามมาอีกมากมาย ขอร่วมเป็นกำลังใจและแสดงความยินดีกับนักศึกษาทุกคนมา ณ ที่นี้ด้วย โดยเฉพาะ ผศ.กุลแก้ว คล้ายแก้ว ที่รับปริญญาเอก ดุษฏีบัณฑิต สาขาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา ม.ศิลปากร วันที่ 14 พ.ย.2566
#สำนักข่าวการศึกษาไทย